ยินดีตอนรับคับที่เยียมชม

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การผสมพันธุ์ สุกร

วัว คลอดลูก

บทความ ไก่เนื้อไทยสายพันธุ์ตาก

ไก่เนื้อไทยสายพันธุ์ตาก

วันที่ : 6 กุมภาพันธ์ 2553
ผู้เข้าชม : 995
              ความนิยมของการบริโภคไก่พื้นเมืองของคนไทยยังมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยมีเนื้อแน่นและกลิ่นหอมกว่าไก่พันธุ์จากต่างประเทศ ราคาขายของไก่พื้นเมืองจึงสูงกว่า แต่ถ้าเลี้ยงไก่พื้นบ้านด้วยอาหารข้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูง เกษตรกรส่วนใหญ่จึงเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบปล่อยธรรมชาติ ปัจจุบันพบว่าปริมาณของไก่พื้นเมืองของไทยลดลงเป็นจำนวนมาก ด้วยสาเหตุหลักจากการเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ที่เรียกกันว่า “ไข้หวัดนก”
   
              โครงการไก่เนื้อไทยสายพันธุ์ตาก จึงเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง กรมปศุสัตว์และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 มาจนถึงปี พ.ศ. 2552 โดยวิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตากได้ปรับปรุงคัดเลือกไก่สายแม่พันธุ์เซี่ยงไฮ้ผสมกับพันธุ์ บาร์พลีมัธรอคและพันธุ์โร้ดไอแลนด์เรด นำมาผสมกับพ่อพันธุ์ไก่พื้นเมืองเหลืองหางขาวที่นำมาจากศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์กบินทร์ บุรี จ.ปราจีนบุรี เพื่อผลิตไก่ลูกผสมพื้นเมืองซึ่งมีการเจริญเติบโตเร็วและให้ไข่มากกว่าไก่พื้นเมืองทั่วไป เกิดเป็นไก่ลูกผสม 4 สายเลือดและตั้งชื่อพันธุ์ว่า “ไก่เนื้อไทยสายพันธุ์ตาก” เพียงแต่ในการเลี้ยงดูจะต้องใช้อาหารสำเร็จรูปร่วมด้วยไม่ต่ำกว่า 50% โดยเลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อยให้อาหารเช้า-เย็น ใช้อาหารสำเร็จรูปผสมรำปลายข้าวและข้าวโพดบดโดยหาซื้อในตลาดและโรงสีใกล้เคียง ให้กินหญ้ากินแมลงในธรรมชาติด้วย
   
              ปัจจุบันไก่เนื้อไทยสายพันธุ์ตาก ส่วนหนึ่งได้นำไปแจกให้เกษตรกรเลี้ยงบนที่สูง อ.แม่สอด, แม่ระมาด, ท่าสองยาง, พบพระและอุ้มผาง เป็นต้น โดยพันธุ์ไก่ที่ส่งไปมีอายุ 1 เดือน พบว่าไก่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เลี้ยงง่าย โตเร็วและแข็งแรง เมื่อนำข้อมูลการเลี้ยงมาสรุปร่วมกับงานวิจัยพบว่าเมื่อไก่เนื้อไทยสายพันธุ์ตากมีอายุได้ 12 สัปดาห์ หรือประมาณ 3 เดือน มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยคละเพศ 1,300 กรัมต่อตัว และเมื่อเลี้ยงจนครบ 4 เดือนน้ำหนักเฉลี่ยของไก่เพศผู้จะได้ 1,600 กรัม และเพศเมีย 1,200 กรัม ซึ่งเป็นช่วงที่ไก่มีรสชาติดีที่สุด จำหน่ายได้ราคากิโลกรัมละ 65-70 บาท เมื่อชำแหละแล้วจำหน่ายได้ถึงกิโลกรัมละ 100-120 บาท  ขณะนี้ไก่ลูกผสมสายพันธุ์นี้เป็นที่ต้องการของ   ผู้บริโภคในเขต จ.ตากและจังหวัดใกล้เคียง  ได้แก่ จ.กำแพงเพชร, สุโขทัย, อุตรดิตถ์และนครสวรรค์ เป็นต้น
  
   
              ไก่เนื้อไทยสายพันธุ์ตากที่ผสมพันธุ์ได้ในครั้งนี้ คุณอนันต์ สุขลิ้ม นักวิชาการสัตวบาลชำนาญพิเศษบอกว่าเกษตรกรรายย่อยและเกษตรกรขนาดกลางสามารถนำ  ไปเลี้ยงในท้องถิ่นได้ แต่จะต้องเป็นการ เลี้ยงแบบโรงเรือนเปิดที่มีตาข่ายคลุมเพื่อป้องกันนกไม่ให้เป็นพาหะนำโรคเข้ามาในเล้า ซึ่งการเลี้ยงไก่จะสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรหลังการทำนา.

บทความ ประวัติการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย

ประวัติการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย

วันที่ : 7 มิถุนายน 2552
ผู้เข้าชม : 1454

                การเลี้ยงโคนมในประเทศไทยเชื่อกันว่าในระยะแรกของการเลี้ยง จะเลี้ยงกันในหมู่ชาวอินเดียเพื่อบริโภค
หรือขายให้กับเพื่อนบ้านชาวอินเดียด้วยกัน พันธุ์โคนมที่เลี้ยงคือ พันธุ์บังกาลา สามารถให้นมได้ดีและช่วงของการให้นมนาม
มากกว่าโคพื้นเมืองทั้วไป หลังจากนั้นก็มีคนให้ความสนใจเลี้ยงกันบ้างเล็กน้อย จนกระทั้งได้มีการจัดตั้งฟาร์มโคนมเป็นแห่งแรก
ของประเทศไทย ชื่อฟาร์มบางกอกแครี่ โดยมีพระยาเทพหัสดินเป็นผู้จัดการในเนื้อที่ทั้งหมด 9 ไร่ และมีโคทั้งหมดประมาณ 120 ตัว
แต่ต้องประสบกับการขาดทุน เนื่องจากในขณะนั้นมีผู้บริโภคกันน้อยมาก นมที่ผลิตได้จึงขายไม่หมดจนต้องล้มเลิกกิจการไปในปี พ.ศ.2477

               จนสงครามโลกครั้งที่2 รัฐบาลได้จัดตั้งองค์การขึ้นเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตน้ำนม ป้องกันปัญหาการขาดแคลน
นมบริโภค โดยทำการรวบรวมโคนมจากชาวอินเดีย และ ได้ดำเนินการอยู่ระยะหนึ่งจึงล้มเลิกไปอีก และ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
กรมปศุสัตว์ และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการนำเข้าโคพันธ์เรดซินดิจากประเทศอินเดียมาผสมกับโคบังกาลา ในปี พ.ศ.2495
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้สั่งโคพันธ์เจอร์ซี่พันธุ์แท้เข้าประเทศไทย เป็นฝูงแรก โดยนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย และ
โคพันธุ์บราวสวิส จากสหรัฐอเมริกา เมื่อถึงปี พ.ศ.2505 ได้มีการจัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
ซึ่งในปัจจุบันเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบและส่งเสริมเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนม และ
เป็นแหล่งรับซื้อนมจากเกษตรกร โดยความช่วยเหลือและ ร่วมมือ ของรัฐบาลไทยและเดนมาร์กใน พ.ศ.2508
ประเทศเยอรมันได้ให้ความช่วยเหลือ โดยการจัดตั้งโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม 
ไทย เยอรมันขึ้นที่สถานีบำรุงพันธ์สัตว์ห้วยแก้ว จ.เชียงใหม่

                 จากที่มีการเลี้ยงโคนมกันมากขึ้นก็ได้มีการจัดตั้งโครงการผสมเทียมเกิดขึ้นครั้งแรก
โดยกรมปศุสัตว์ได้จัดตั้งสถานีผสมเทียมขึ้นที่ห้วยแก้ว จ.เชียงใหม่และในภาคกลางตอนใต้ก็มี
การตื่นตัวเลี้ยงโคนมกันมากขึ้น ได้มีการจัดตั้งสถานีผสมเทียมเป็นแห่งที่สองที่ตำยลหนองโพ อำเภอโพธาราม
จังหวัดราชบุรี โดย พ่อพันธุ์ที่ใช้เป็นพันธุ์บราวสวิสจากสหรัฐอเมริกา และ ได้จัดตั้งสหกรณ์หนองโพราชบุรีจำกัดขึ้นในเวลาต่อมา
สำหรับในภาคใต้ ได้มีการเลี้ยงโคนมหลังจากภาคอื่นๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2524-2525 ได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมขึ้นที่จังหวัดพัทลุง

บทความเกี่ยวกับ สัตว์ป่าสงวนของไทย

สัตว์ป่าสงวนของไทย

สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าหายาก 15 ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ได้แก่
แมวลายหินอ่อน พะยูน เก้งหม้อ นกกระเรียน เลียงผา กวางผา ละองหรือละมั่ง สมัน กูปรี ควายป่า แรด กระซู่ สมเสร็จ นกแต้วแล้วท้องดำ และ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

ข้อห้ามข้อบังคับบางประการจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ที่ควรทราบมีดังนี้
  • สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าที่ห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ห้ามครอบครองสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่สัตว์ที่ครอบครองเป็นสัตว์ที่มาจากการเพาะพันธุ์ที่ไม่ถูกต้อง จะต้องโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ห้ามเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ในกรณีที่การล่าเป็นการล่าเพื่อปกป้องตนเองหรือผู้อื่นหรือทรัพย์สิน หรือเหตุอื่นที่เห็นว่าเป็นการกระทำที่ควรแก่เหตุ ไม่ต้องรับโทษ
  • การห้ามการครอบครองและห้ามค้า มีผลไปถึงไข่และซากของสัตว์เหล่านั้นด้วย
  • ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรังของสัตว์ ยกเว้นรังนกอีแอ่น (นกแอ่นกินรัง) ซึ่งต้องได้รับอนุญาตเช่นกัน

กระซู่

กระซู่

ชื่อสามัญ : Sumatran Rhinoceros
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicermocerus sumatraensis
ชื่ออื่น : แรดสุมาตรา
เป็นแรดพันธุ์เล็กที่สุดในบรรดาแรด 5 ชนิดของโลก มี 2 นอ ความสูงที่ระดับไหล่ 1.0 - 1.4 เมตร น้ำหนัก 900-1,000 กก. มีขนปกคลุมทั้งตัว ปีนเขาเก่ง มีประสาทในการรับกลิ่นดีมาก เมื่อพบสิ่งกีดขวางจะไม่ข้าม แต่มักใช้หัวดันให้พ้นทางเดิน ชอบกินกิ่งไม้ ใบไม้และผลไม้ ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนานประมาณ 7-8 เดือน ปัจจุบันหายากมาก คาดว่าจะพบได้ในบริเวณป่าทึบตามแนวพรมแดนไทย-พม่า และชายแดนไทย-มาเลเซีย รายงานล่าสุดในปี พ.ศ.2539 พบรอยเท้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ นอกจากนี้ยังมีกระจัดกระจายตามป่าต่าง ๆ แห่งละตัวสองตัว เช่น แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ฮาลา-บาลา จังหวัดนราธิวาส เขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อ่านเพิ่มเติม
กระซู่ จาก แฟ้มสัตว์โลก
เลียงผา

เลียงผา

ชื่อสามัญ : Serow
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capricornis sumatraensis
เป็นสัตว์กีบคู่ มีเขาจำพวกแพะ ความสูงที่ระดับไหล่ 85-94 ซ.ม. น้ำหนักประมาณ 85-140 กก. อาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผาหรือถ้ำ สามารถเคลื่อนที่ในที่สูงชันอย่างว่องไวและปราดเปรียวมาก สามารถว่ายน้ำข้ามระหว่างเกาะกับแผ่นดินได้ มีอวัยวะรับสัมผัส ทั้งตา หู และจมูกดี กินพืชที่ขึ้นอยู่ตามที่สูง ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 7-8 เดือน ปัจจุบันลดจำนวนลงไปมากเนื่องจาก ถูกล่าเพื่อเอาเขาและทำน้ำมันเลียงผา
อ่านเพิ่มเติม
เลียงผา จาก แฟ้มสัตว์โลก
สมัน

สมัน

ชื่อสามัญ : Schomburgk’s Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cervus schomburgki
ชื่ออื่น : เนื้อสมัน
เป็นกวางขนาดกลาง ความสูงระดับไหล่ 1 เมตร ได้ชื่อว่ามีเขาสวยที่สุด การแตกแขนงของเขาเมื่อโตเต็มวัยจะมีลักษณะคล้ายสุ่มที่หงายขึ้น จึงเรียกว่า "กวางเขาสุ่ม" ชอบกินยอดหญ้าอ่อน ผลไม้ และใบไม้ อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ อาศัยอยู่เฉพาะที่ราบต่ำในภาคกลางของประเทศไทยเท่านั้น โดยเฉพาะบริเวณรอบ ๆ กรุงเทพฯ ปทุมธานี อยุธยา สมุทรปราการ สมันได้สูญพันธุ์ไปโดยสมบูรณ์เมื่อราวปี 2475 แม้แต่สมันตัวสุดท้ายของโลกก็ตายด้วยมือของมนุษย์
อ่านเพิ่มเติม
สมัน จาก แฟ้มสัตว์โลก
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

ชื่อสามัญ : White-eyed River-Martin
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pseudochelidon sirintarae
ชื่ออื่น : นกเจ้าฟ้า
เป็นนกนางแอ่นชนิดหนึ่ง ขนาดวัดจากปลายจงอยปากถึงโคนหางยาวประมาณ 15 ซม. พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2511 บริเวณบึงบรเพ็ด จ.นครสวรรค์ เพียงแห่งเดียวในโลกและไม่พบที่อื่นอีกเลย เป็นนกที่อพยพมาในฤดูหนาว ส่วนในฤดูอื่นเชื่อว่าจะอยู่บริเวณต้นแม่น้ำปิง ชอบเกาะนอนในพงหญ้า นอนอยู่รวมกับฝูงนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ตามใบอ้อ และใบสนุ่น โฉบจับแมลงเป็นอาหาร ปัจจุบันเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว
กูปรี

กูปรี

ชื่อสามัญ : Kouprey
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bos sauveii
ชื่ออื่น : วัวเขาเกลียว(ลาว) โคไพร
เป็นสัตว์ป่าตระกูลเดียวกับกระทิงและวัวแดง ความสูงที่ระดับไหล่ 1.7-1.9 เมตร น้ำหนักประมาณ 700-900 กก. อยู่รวมกันเป็นฝูง 2-20 ตัว มีลักษณะพิเศษคือ ตัวผู้ที่โตเต็มที่มักจะมีปลายเขาที่แตกเป็นพู่ เนื่องจากมันชอบใช้เขาแทงดินเพื่องัดหาอาหารกิน ส่วนตัวเมียมีเขาลักษณะเป็นวงเกลียว ชอบกินหญ้า ใบไม้ ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9-10 เดือน พบในไทย ลาว เขมร และเวียดนามเท่านั้น ข้อมูลเกี่ยวกับกูปรีมีน้อยและยังถูกล่าอยู่เสมอเพราะเขามีราคาสูงมาก เป็นที่ต้องการของนักสะสม มีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ได้
อ่านเพิ่มเติม
กูปรี จาก แฟ้มสัตว์โลก
นกกระเรียน

นกกระเรียน

ชื่อสามัญ : Sarus Crane
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Grus antigone sharpii
ชื่ออื่น : _
อยู่ในตระกูลนกบินได้ขนาดใหญ่ที่สุด สูงประมาณ 150 ซม. พบตามหนอง บึง และท้องทุ่ง หากินเป็นคู่และกลุ่มครอบครัว จับคู่แบบผัวเดียวเมียเดียว กินแมลง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์น้ำ เมล็ดพืช และต้นอ่อนของพืชน้ำ ปัจจุบันไม่พบในประเทศไทยเพราะถูกล่า และแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลาย แต่ยังพบในประเทศลาวและเขมร
อ่านเพิ่มเติม
นกกระเรียน จาก แฟ้มสัตว์โลก
นกแต้วแล้วท้องดำ

นกแต้วแล้วท้องดำ

ชื่อสามัญ : Gurney's Pitta
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pitta gurney
ชื่ออื่น : _
ขนาดลำตัววัดจากจงอยปากถึงโคนหางยาว 21 ซม. อาศัยอยู่เฉพาะในป่าดิบที่ราบต่ำ ชอบทำรังบนกอระกำ และกอหวาย ซึ่งมีหนามแหลม ชอบกินไส้เดือน ส่งเสียกร้อง "วัก วัก" เพื่อประกาศอาณาเขตและร้องหาคู่ ส่งเสียงร้อง "แต้ว แต้ว" ขณะตกใจ ฤดูผสมพันธุ์เริ่มเดือนพฤษภาคม ปัจจุบันพบแห่งเดียวในโลก ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม (เขานอจู้จี้) จ.กระบี่ คาดว่าเหลืออยู่ไม่เกิน 100 ตัว และมีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ในไม่ช้าเนื่องจาก ถิ่นที่อยู่กำลังถูกบุกรุกอย่างรุนแรง
อ่านเพิ่มเติม
นกแต้วแล้วท้องดำ จาก แฟ้มสัตว์โลก
ควายป่า

ควายป่า

ชื่อสามัญ : Wild Water Buffalo
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bubalus bubalis
ชื่ออื่น : มหิงสา
เป็นบรรพบุรุษของควายบ้าน ขนาดของลำตัวใหญ่กว่าควายบ้าน รอบคอด้านหน้ามีรอยสีขาวเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวหงายอยู่ เรียกว่า "รอยเชียดคอ" ขาทั้งสี่มีสีขาวเหมือนใส่ถุงเท้า แต่ในธรรมชาติมักไม่เห็นถุงเท้านี้ เพราะควายป่าชอบแช่และลุยปลักโคลนจนถุงเท้าเปื้อนไปหมด ความสูงที่ระดับไหล่ 1.6-1.9 เมตร น้ำหนักถึง 800-1,200 กก. แต่ปราดเปรียวมาก ชอบนอนแช่ปลักให้ดินโคลนพอกลำตัวเพื่อป้องกันแมลงรบกวน มีนิสัยชอบอยู่เป็นฝูง เมื่อบาดเจ็บจะดุร้ายมาก กินใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนานประมาณ 10 เดือน ปัจจุบันพบบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี เท่านั้น
ควายป่า จาก แฟ้มสัตว์โลก
แมวลายหินอ่อน

แมวลายหินอ่อน

ชื่อสามัญ : Marbled Cat
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pardofelis marmorata
ชื่ออื่น : _
เป็นแมวป่าขนาดกลาง น้ำหนักประมาณ 4-5 กก. อยู่ในป่าดงดิบและป่าดิบชื้น ชอบอยู่บนต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ แมลง งู นก หนู และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ปัจจุบันหายากมาก มีรายงานพบเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติทับลาน
อ่านเพิ่มเติม
แมวลายหินอ่อน จาก เสือและแมว นักล่าผู้งามสง่า
กวางผา

กวางผา

ชื่อสามัญ : Goral
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Naemorhedus griseus
ชื่ออื่น : ม้าเทวดา
มีลักษณะคล้ายแพะ ความสูงที่ระดับไหล่ 50-70 ซม. น้ำหนักประมาณ 20-32 กก. มีขาแข็งแรงสามารถกระโดดตามชะง่อนผาได้อย่างว่องไวและแม่นยำ พบตามยอดเขาสูงชัน สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดปี อาหารได้แก่ พืชตามสันเขาและหน้าผาหิน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 6-8 เดือน อายุประมาณ 8-10 ปี ปัจจุบันเหลืออยู่จำนวนน้อย พบบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น จ.ตาก
อ่านเพิ่มเติม
กวางผา จาก แฟ้มสัตว์โลก
เก้งหม้อ

เก้งหม้อ

ชื่อสามัญ : Fea’s Barking Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Muntiacus feai
ชื่ออื่น : เก้งดำ, กวางจุก
เป็นเก้งที่มีสีคล้ำกว่าเก้งธรรมดา ทางด้านบนสีดำตัดกับสีขาวด้านล่างชัดเจน บริเวณโคนเขามีขนยาวแน่นและฟูเป็นกระจุก ชอบอาศัยอยู่เดี่ยว ๆ ในป่าดงดิบตามลาดเขา จะอยู่เป็นคู่เฉพาะในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น กินใบไม้ หญ้าและผลไม้ ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 6 เดือน พบบริเวณชายแดนไทย-พม่า และในภาคใต้ของไทย เป็นสัตว์ในตระกูลกวางที่หายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก
อ่านเพิ่มเติม
เก้งหม้อ จาก แฟ้มสัตว์โลก
สมเสร็จ

สมเสร็จ

ชื่อสามัญ : Malayan Tapir
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tapirus indicus
ชื่ออื่น : ผสมเสร็จ
เป็นสัตว์หากินกลางคืน น้ำหนักประมาณ 250-300 กก. มีประสาทสัมผัสทางกลิ่นและเสียงดีมาก มีจมูกเหมือนงวงช้าง รูปร่างเหมือนหมู เท้าเหมือนแรด จึงเรียกว่าผสมเสร็จหรือสมเสร็จ มักหากินตามที่รกทึบ ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 13 เดือน พบบริเวณป่าชายแดนไทย-พม่า ตลอดลงไปจนถึงภาคใต้ของไทย
อ่านเพิ่มเติม
สมเสร็จ จาก แฟ้มสัตว์โลก
แรด

แรด

ชื่อสามัญ : Javan Rhinoceros
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinoceros sondaicus
ชื่ออื่น : แรดชวา
มีนอเดียว ความสูงที่ระดับไหล่ 1.70-1.75 เมตร น้ำหนัก 1,500-2,000 กก. ชอบนอนในปลัก โคลนตม หนองน้ำ เพื่อไม่ให้ถูกแมลงรบกวน มีสายตาไม่ค่อยดีนัก แต่ประสาทสัมผัสในการรับกลิ่นดีมาก ชอบกินยอดไม้ ใบไม้และผลไม้ ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 16 เดือน อาศัยอยู่ในป่าทึบ โดยเฉพาะบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ครั้งหนึ่งเคยมีพบในบริเวณป่าชายแดนไทย พม่า ลงไปทางใต้ แต่ไม่มีใครพบแรดในธรรมชาติในเมืองไทยเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ประชากรแรดในประเทศอื่น ๆ ก็อยู่ในภาวะคล้ายคลึงกัน ปัจจุบันยังมีเหลือแรดอยู่ในธรรมชาติเพียง 20-30 ตัวเท่านั้น โดยอยู่ในอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งในประเทศเวียดนาม
อ่านเพิ่มเติม
แรด จาก แฟ้มสัตว์โลก
พะยูน

พะยูน

ชื่อสามัญ : Dugong
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dugong dugon
ชื่ออื่น : หมูน้ำ, ปลาพะยูน
สัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม น้ำหนักประมาณ 300 กก. ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง กินหญ้าทะเลตามบริเวณน้ำตื้นใกล้ชายฝั่ง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 1 ปี ลดจำนวนลงมากเพราะติดอวน และหญ้าทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญถูกทำลาย ปัจจุบันพบอยู่บริเวณเกาะลิบงและหาดเจ้าไหม จ.ตรัง ประมาณ 40-50 ตัว
อ่านเพิ่มเติม
พะยูน, ปลาหมู, หมูดุด, ดุหยง จาก แฟ้มสัตว์โลก
ละอง ละมั่ง

ละอง, ละมั่ง

ชื่อสามัญ : Eld's Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cervus eldi
ชื่ออื่น : _
ละอง เป็นชื่อเรียกตัวผู้ ส่วนละมั่งเป็นชื่อเรียกตัวเมีย ความสูงที่ระดับไหล่ 1.2 - 1.3 เมตร หนักประมาณ 95-150 กก. ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน กินใบไม้ ใบหญ้า และผลไม้เป็นอาหาร ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องประมาณ 7-8 เดือน มีสองชนิดย่อย คือ C. e. thamin และ C. e. siamensis ปัจจุบันละองและละมั่งได้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของไทยไปแล้ว แต่คาดว่ายังมีเหลืออยู่ตามบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ชายแดนไทย-กัมพูชา และบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีชายแดนไทย-พม่า

บทความเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทย

การอนุรักษ์และการจัดการช้างในประเทศไทย
(Conservation and Management of Elephants in Thailand)



โดย มัทนา ศรีกระจ่าง วันที่ 30/3/2550


         ในปัจจุบันประเทศไทยมีช้างอยู่ประมาณ 6,000 ตัว เป็นช้างบ้าน 3,000 ตัว ซึ่งร้อยละ 95 อยู่ในการครอบครองของเอกชน
แม้ว่าอัตราการเกิดของช้างบ้านจะเพิ่มขึ้นจากในอดีต เนื่องจากโครงการสัตวแพทย์สัญจรที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในช่วงหนึ่ง ทศวรรษที่ผ่านมา
แต่ในระยะยาว ประชากรช้างบ้านจะมีแนวโน้มลดลงเพราะส่วนใหญ่เป็นช้างที่มีอายุมากและอัตรา การตายของลูกช้างค่อนข้างสูง ปัญหาช้างบ้าน
ได้แก่ ช้างเร่ร่อนและการใช้ช้างในการทำธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาช้าง บ้านได้ทั้งหมด การรณรงค์หาทุนที่ผ่านมาเน้นไปเพื่อการ
ดูแลสุขภาพของช้างและคำนึงถึงด้าน มนุษยธรรมมากกว่าการอนุรักษ์สัตว์ป่าแต่เพียงอย่างเดียว การจัดการกับปัญหาของช้างบ้านในอนาคต
ควรคำนึงถึงการอนุรักษ์สัตว์ป่าควบคู่ กับการส่งเสริมวัฒนธรรมความสัมพันธ์ระหว่างคนกับช้าง รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของควาญช้าง
ส่วนช้างป่ามีประมาณ 3,000 ตัว อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อย่างน้อย 65 แห่ง ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในหย่อมป่าและเป็นประชากรขนาดเล็ก
(น้อยกว่า 100 ตัว) มีกลุ่มป่า 6 แห่ง ที่สามารถดำเนินการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ช้างป่า คือ การที่ช้างป่าออกมาทำลาย
พืชไร่ของราษฎร แต่เนื่องจากการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วโดยโครงการพระราชดำริ การที่ช้างป่าส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์และทัศนคติ
ที่ดีของราษฎรในท้อง ถิ่นที่มีต่อช้าง ทำให้ปัญหาไม่รุนแรงเท่าที่ควร แต่แนวโน้มของปัญหาในอนาคตจะเกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงมากขึ้น
เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนช้างป่าในหลายพื้นที่ ความสำเร็จของการอนุรักษ์ช้างป่าจะขึ้นกับการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคน
กับช้างโดยการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและอยู่บนฐานของความ รู้และความเข้าใจเกี่ยวกับช้างป่าตลอดจนเศรษฐกิจและ
สังคมของราษฎรที่ได้รับ ผลกระทบในแต่ละพื้นที่