ยินดีตอนรับคับที่เยียมชม

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความเกี่ยวกับขยะมูลฝอย

บทความเกี่ยวกับขยะ
 
ทุกวันนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่ความสามารถในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70 % ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างตามสถานที่ต่างๆ หรือมีการนำไปกำจัด โดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ

                  1. อากาศเสีย เกิดจากการเผาขยะมูลฝอยกลางแจ้ง ทำให้เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ
                  2. น้ำเสีย เกิดจากการกองขยะมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้น เมื่อฝนตกจะเกิดน้ำเสีย ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำ ทำให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ
                  3. แหล่งพาหนะนำโรค จากขยะมูลฝอยตกค้างบนพื้น จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหนะนำโรคติดต่อ ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย
                      ของประชาชน
                  4. เหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมด ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน
ขยะมูลฝอย
            ขยะมูลฝอย หมายถึง บรรดาสิ่งของที่ไม่ต้องการใช้แล้ว ส่วนใหญ่เป็นของแข็งจะเน่าเปื่อยได้หรือไม่ก็ตาม รวมตลอดถึง ซากสัตว์ มูลสัตว์ ฝุ่นละออง และเศษวัตถุที่ทิ้งแล้วจากบ้านเรือน สถานที่ต่างๆ โรงงานอุตสาหกรรม ยกเว้น อุจจาระ ปัสสาวะ
ประเภทของขยะมูลฝอย แบ่งออกเป็นประเภทที่สำคัญๆได้ 10 ประเภท คือ
                  1. เศษอาหาร ขยะจำพวกที่ได้จากห้องครัว การประกอบอาหาร รวมถึงเศษใบตอง เศษผลไม้ อาหารที่เหลือทิ้ง ฯลฯ
                  2. ของที่ไม่เน่าเหม็น ขยะจำพวกที่ไม่บูดเน่าส่งกลิ่นเหม็น มีความชื้นต่ำ เช่น เศษกระดาษ เศษแก้ว เศษโลหะ เป็นต้น อาจเรียกขยะแห้งก็ได้
                  3. เถ้าถ่าน เศษที่เหลือจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง จำพวกไม้ ถ่านหิน
                  4. มูลฝอยจากถนน เศษสิ่งของต่างๆ ที่ได้จากการกวาดถนน ส่วนมากเป็นพวกเศษกระดาษ เศษสินค้า ฝุ่นละออง เศษดิน
                  5. ซากสัตว์ สัตว์ที่ตายตามธรรมชาติ ตายด้วยอุบัติเหตุหรือด้วยโรคต่างๆ
                  6. ซากรถยนต์ รถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว
                  7. มูลฝอยจากโรงงาน ขยะที่เกิดขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ แล้วแต่ประเภทของโรงงาน
                  8. เศษวัสดุก่อสร้าง เช่น เศษอิฐ เศษปูน เศษกระเบื้อง เศษไม้ หรือเศษวัสดุจากส่วนบ้านเรือน
                  9. ตะกอนจากน้ำโสโครก ที่ได้จากกระบวนการแยกตะกอนจากการปรับปรุงสภาพน้ำทิ้ง รวมทั้งได้จากการลอกท่อระบายน้ำสาธารณะต่างๆ ส่วนมากเป็นพวก เศษดิน หิน ทราย ไม้
                  10. ขยะมูลฝอยที่เป็นอันตราย ขยะที่ก่อให้เกิดปัญหาในการเก็บ ขน การกำจัด ตลอดจนการจับต้อง เช่น ใบมีดโกน กระป๋องที่มีการอัดลม ขยะจากโรงพยาบาลสารกัมมันตรังสี เป็นต้น

เรามาดูกันว่าอะไรย่อยสลายยากที่สุด

โฟม                           500 – 1,000     ปี
ผ้าอ้อมสำเร็จรูป        500                    ปี
ถุงพลาสติก               100 – 450          ปี
อะลูมิเนียม                0 – 100              ปี
เครื่องหนัง                 25 – 40               ปี
ก้นบุหรี่                      12                       ปี
ถ้วยกระดาษเคลือบ  5                         ปี
เปลือกส้ม                 6                         เดือน
เศษกระดาษ             2 – 5                   เดือน

แนวทางการจัดการขยะมูลฝอย

            การป้องกันและควบคุมการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะที่สำคัญ คือ การลดขยะที่แหล่งกำเนิด โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะตั้งแต่การเก็บ รวบรวม ขนส่ง การคัดแยกและใช้ประโยชน์ ตลอดจนการกำจัดขั้นสุดท้าย ลดปัญหาสภาวะสิ่งแวดล้อม และประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยมีดังนี้
 
             1. ก่อนจะทิ้งขยะ หยุดคิดสักนิดว่า เราจะลดปริมาณขยะและนำขยะมาใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ มีแนวคิดอยู่ 7R คือ
                   
REFUSE การปฏิบัติหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะ รวมทั้งเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่นกล่องโฟม ถุงพลาสติก ขยะมีพิษต่างๆ
                   
REFILL การเลือกใช้สินค้าชนิดเติม ซึ่งใช้บรรจุภัณฑ์น้อยชิ้นกว่า ขยะก็น้อยด้วย เช่น ผงซักฟอก สบู่เหลว น้ำยาล้างจาน เป็นต้น
                   
RETURN การเลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืน บรรจุภัณฑ์สู่ผู้ผลิตได้ หรือระบบมัดจำ คืนเงินได้ เช่น ขวดเครื่องดื่มประเภทต่างๆ
                   
REUSE การนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว กลับมาใช้ใหม่ เช่น กล่องกระดาษ ขวดน้ำ ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก และถุงพลาสติกสามารถนำมาใช้ซ้ำได้อีก
                   
REPAIR การซ่อมแซมเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่างๆให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ไม่ให้กลายเป็นขยะ
                  
 REDUCE การลดการบริโภคและหาทางเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้งานของสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ
                   
RECYCLE การแยกขยะที่ยังใช้ประโยชน์ได้ ให้ง่ายต่อการจัดเก็บและส่งแปรรูป เช่น พลาสติก แก้ว กระป๋อง เครื่องดื่ม

             
2.ทิ้งขยะในที่จัดไว้ให้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและง่ายในการจัดเก็บขยะของพนักงานจัดเก็บขยะ

             
3.ควรมีการคัดแยกขยะ เพื่อให้การจัดเก็บขยะมูลฝอยมีประสิทธิภาพและลดการปนเปื้อนของขยะมูลฝอยที่มีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ จะต้องมีการตั้ง
                จุดรวบรวมขยะมูลฝอย โดยมีการแบ่งแยกประเภทของถังรองรับขยะมูลฝอยตามสีต่างๆ ดังนี้
 
                   ถังสีเขียว รองรับขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้
                    
ถังสีเหลือง รองรับขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ
                    
ถังสีแดง รองรับขยะที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดไฟที่หมดอายุจากการใช้งาน ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ภาชนะ บรรจุสารอันตรายต่างๆ

                    
ถังสีฟ้า รองรับขยะทั่วไปที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟม และฟอล์ยที่เปื้อนอาหาร
             4. หากอยู่ในเขตชุมชน ที่ไม่มีเจ้าหน้าที่เก็บขยะไปกำจัด ควรกำจัดขยะโดยการฝังกลบไม่ควรเผากลางแจ้ง จะเห็นได้ว่า แนวทางการจัดการขยะมูลฝอย เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ เพียงถ้าร่วมมือร่วมใจกันคิดสักนิดก่อนจะทิ้งขยะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น